ภาษาตราด ที่ควรรู้

ภาษาตราด เป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์สูงเลยก็ว่าได้ อาจจะมีผิดเพี้ยนไปจากคำต้นแบบนิดหนอ่ย แต่บางครับนั้นทำเอาชาวต่างถิ่น มึนกันไปเลยทีเดียวเชียว บางคนก็ดูตลก ประหลาด การพูดของคนตราดนั้น มีการพูดแบบกระโชกโฮกฮาก ไม่ค่อยมีหางเสียง ทำให้คนถิ่นอื่นอาจจะหาว่ากำลังทะเลาะกันหรือมีเรื่องกันอยู่หรือเปล่า วันนี้ บ้านเพื่อน เลยพามาแนะนำให้ฟังในคำที่นิยมใช้กันแล้วกันนะครับ

คำศัพท์ภาษาตราด รวมคำกิริยา บอกเล่า และสิ่งของทั้งหมดนะครับ

  • น้ำพริกเกลือ = น้ำจิ้มซีฟู๊ด
  • น้ำเคย = น้ำปลา
  • โพง = ถังตักน้ำ (ไม่ว่าจะเป็นพลาสติกหรือเป็นสแตนเลส เรียกโพงหมด)
  • ไฟชิก = ไฟแชค
  • เหีย = พี่ชาย
  • สาวเล็ก = น้องสาว
  • หมาเล็ก = น้องชาย
  • ไอ้หมา = พี่ชายคนแรก
  • เพาะ = พ่อ
  • แมะ = แม่
  • ผ้าโป้ = ผ้าขาวม้า
  • สะหงาด = ดีงาม ดีที่สุด มากที่สุด เยอะที่สุด
  • เช่ด = หมด
  • สุย = ดัน เข็น
  • สบ = ชอบคอ ถูกใจ
  • อุบ = ปกปิด แอบ ซ่อน
  • ตะหลุก = เป็นหลุม เป็นร่อง หรือเป็นเนินเล็กๆใช้กับถนน
  • ฝนแล้ง = ฝนหยุดตก
  • เพล = เวลา 11.00 น.
  • เก่ก = เกร็ง หรือ เก๊ก
  • บาน = เยอะแยะ มากมาย
  • ผ้าผวย = ผ้าห่ม
  • สำคัญ = หมายถึงคนที่รายกาจ เช่น เด็กคนนี้สำคัญนักนะ
  • หน้าแล้ง = ฤดูร้อน
  • หน้าพรรษา = หน้าฝน
  • หน้าลมว่าว = หน้าหนาว
  • เอี๊ยว = ใช้กับอาหาร ที่เคยกรอบ อย่างเช่น เกี๊ยวมันเอี๊ยวแล้ว คือเกี๊ยวมันไม่กรอบแล้ว
  • เข่ย = แทะ หรือใช้ฟันหน้าในการกัดกิน
  • พอแรง = พอประมาณ พอสมควร
  • เอี่ยน = ใช้กับอาหารที่ไม่สด เช่น กุ้งเอี่ยน ปลาเอี่ยน หมึกเอี่ยน
  • เฟ่ด = ไม่ตรง คด เช่นทางมันเฟ่ด คือทางไม่ตรง
  • ดอง = แช่ในความเย็น เช่นเอาปลาไปดอง คือเอาปลาไปแช่น้ำแข็ง
  • พุก = ผุ
  • ค่อน = โค่นต้นไม้ ตัดไม้
  • ลูกชื้อ = ลูกน้ำ ลูกยุง
  • เบิก = มีอีกเยอะ มีอีกมาก
  • สัมมะรด = สับปะรด
  • เอือม = เบื่อหน่าย ระอา
  • คอยท่า = รอ
  • แล = มองหรือดู
  • ฮิ = นะ เป็นคำลงท้าย ของคำถาม เช่น ไปไหนมาฮิ กินข้าวยังฮิ ได้ไรมั่งฮิ
  • สมเพช = น่าสงสาร
  • สระหัว = สระผม
  • ซางขุม = แผลร้อนใน แผลในปาก
  • ทุ้ย = ถุย บ้วนออกจากปาก
  • เอาได้ = ใช้ได้
  • เซา = ค่อยๆ หรือลดลง
  • ฮู้ด = ซดน้ำ ใช้กับการกินอาหารประเภทน้ำ เช่น ฮู้ดน้ำก๋วยเตี๋ยว คือ ซดน้ำ ก๋วยเตี๋ยว
  • กะแต = ใช้กับผู้ หญิงที่แก่แดด หรือ แรด นั่นเอง
  • ขัง = ขำ
  • เกี๊ยะ หรือ เคี๊ยะ = ใช้เป็นคำลงท้ายให้ประโยคนั้นหนักแน่นในประโยคคำถาม หรือประโยคบอกเล่าเพื่อเน้นคำ เช่น ไปไหนมาเคี๊ยะ หยิบมาเมื่อกี้แล้วเกี๊ยะ