“สุนัขไทยหลังอาน” เป็นสุนัขพื้นบ้านทั่วไป ไม่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์กำหนดกฎเกณฑ์มาตรฐานแต่อย่างใด มีอานนิดๆหน่อยๆ ถือว่าใช้ได้ แต่เมื่อช่วงที่ผ่านมา มีคนจากจังหวัดอื่นๆ มาเห็นและชื่นชมนำไปเลี้ยง และเป็นที่นิยมมากขึ้น สุนัขหลังอานจึงกลายเป็นสิ่งที่มีค่า มีราคาเพิ่มขึ้นและนิยมเลี้ยงกันเป็นธุรกิจ มากขึ้น ราคานั้นมีแตกต่างกันออกไป เริ่มต้นที่ตัวละหลัก 1000 บาท จนไปถึงหลักแสนเลยทีเดียว
มีการเพาะพันธุ์ ขยายพันธุ์ กำหนดลักษณะพันธุ์ และเริ่มมีการพัฒนาสายพันธุ์ ด้วยการผสมพันธุ์เพื่อขายลูก เพาะเลี้ยงพ่อพันธุ์สวยๆ เพื่อรับผสมพันธุ์โดยคิดค่าผสมพันธุ์ ด้วยสุนัขหลังอานที่เข้าใจว่ามีถิ่นกำเนิดที่จังหวัดตราด คำขวัญของจังหวัดตราดจึงกล่าวไว้ว่า ”เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา”
ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา จังหวัดตราดได้จัดประกวดสุนัขไทยหลังอานขึ้นเป็นระยะ แม้ว่าไม่ต่อเนื่องแต่ทำให้สุนัขไทยหลังอานมีผู้สนใจเลี้ยงขยายพันธุ์มากขึ้น มีแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์และโครงสร้างสรีระที่สวยงาม จนกระทั่งสุนัขไทยหลังอานได้รับการจดทะเบียนกับสมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัข (ประเทศไทย) ต่อมาสมาคมได้ยื่นจดทะเบียนกับสมาพันธ์สุนัขโลก (FCI) และได้รับการรับรองมาตรฐานสายพันธุ์เป็นสุนัขพันธุ์แท้ของโลกเมื่อปี 2536
สุนัขไทยหลังอานที่มีเอกลักษณ์ตามต้นตำรับดั้งเดิมของจังหวัดตราดมีเอกลักษณ์ 9 อย่าง คือ หน้าดำ เล็บดำ ลิ้นดำ หางดำ ปากทู่ ตัวสั้น หูตั้ง หลังอาน หางดาบ
ประวัติ
สุนัขไทยหลังอานเป็นสุนัขพื้นเมืองพันธุ์แท้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคตะวันออกแถบจังหวัดตราด ชลบุรี ระยอง ลักษณะเด่นคือ ดุร้าย จึงนิยมเลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน เพราะตามชนบทบ้านเรือนมักไม่มีรั้วรอบขอบชิด และกลางวันขณะที่ชาวบ้านออกไปทำไร่ทำนาก็จะปิดบ้านทิ้งไว้ให้สุนัขเฝ้าดูแลแทน อย่างไรก็ตามสุนัขพันธุ์นี้มักดุร้ายต่อเมื่ออยู่ในบ้านเท่านั้น หากออกนอกบ้านแล้วจะไม่ทำอันตรายใครทั้งสิ้น ยกเว้นเมื่อมันหรือนายของมันถูกทำร้าย สมัยก่อนชาวบ้านนิยมออกหาอาหารโดยการเข้าป่าล่าสัตว์ ซึ่งมักมีสุนัขติดตามไปช่วยล่าสัตว์ด้วย เพราะสุนัขนี้สามารถวิ่งได้เร็ว เรื่องมาจากมีช่วงลำตัวยาว อกลึกเป็นพิเศษและเอวคอด จึงถูกจัดเป็นสุนัขล่าเนื้อพันธุ์หนึ่ง แต่บางครั้งอาจได้ยินคนเรียกสุนัขพันธุ์นี้ว่า หมาตามเกวียน ตามลักษณะที่มันวิ่งตามเกวียนไปกับผู้เลี้ยงขณะเดินทาง
ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าหมาไทยหลังอาน มีมาทั้งแต่เมื่อใด แต่พบหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรในสมุดข่อย เมื่อประมาณ 380ปีมาแล้วนับจากปัจุบัน ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แห่งกรุงศรีอยุธยา ปีพุทธศักราช 2170 เป็นบันทึกที่เก่าแก่เกียวกับหมาไทย เท่าทีหาพบได้ในประเทศไทย มีข้อความอ้างถึงหมาว่า “หมาตัวมันใหญ่ มันสูงสองสอกเศษ มันมีสีต่างๆไม่ซ้ำกัน มันมีขนที่หลังกลับ มันภักดีกับผู้เลี้ยงมัน มันหากินขุดรูหาสัตว์เล็กๆ มันชอบติดตามผู้เลี้ยงไปในป่า มันได้สัตว์มันจะนำมาให้เจ้าของ มันภักดีบ้านเรือน มันรักหมู่พวกของมัน มันไปกับเจ้าของมันถึงต้นยางมีน้ำมัน มีกำลังกล้าหาญไม่กลัวใครทั้งหลาย เป็นสุวรรณรัชตะชาด มันมีโคนหูสูง มันมีหางเหมือนดาบชาวป่า ถ้าผู้ใดมีไว้จะได้รับความภักดีจากมัน”
ปัจจุบันในหลายๆพื้นที่ก็นิยมนำสุนัขพันธุ์นี้ไปเลี้ยง อยู่ทั่วประเทศ
ภาพ : www.itaam.co